วันนี้ 23 กันยายน 2559 ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อ.ส.ค.(นส.อรนุช จิราวัฒนานุรักษ์) ได้รับมอบหมายจาก ผู้อำนวยการ อ.ส.ค.(ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์สุวรรณ) เป็นผู้แทนเข้ารับรางวัล Thailand IPv6 Ready Award ในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมในการให้บริการรองรับ IPv6 จาก ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม( นางทรงพร โกมลสุรเดช)ในงาน lPv6 ประจำปี 2559 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
มาดูว่า IPv6 คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร?
IPv6 คือคำย่อของ “Internet Protocol Version 6” IPv6 คือโปรโตคอลรุ่นล่าสุดของอินเตอร์เน็ต ออกแบบมาเพื่อแทนที่โปรโตคอลอินเตอร์เน็ตปัจจุบัน ซึ่งเป็น IP เวอร์ชั่น 4 เพื่อให้สามารถสื่อสารกับผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ จะต้องมีที่อยู่ของผู้ส่งและผู้รับ ที่อยู่ที่เป็นตัวเลขเหล่านี้รู้จักกันในนามของที่อยู่โปรโตคอลอินเตอร์เน็ต ในขณะที่อินเตอร์เน็ตและจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ ความต้องการสำหรับที่อยู่ IP ก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
IPv6 คือมาตรฐานที่พัฒนาขึ้นโดย Internet Engineering Task Force ซึ่งเป็นองค์กรที่พัฒนาเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตต่างๆ IETF ได้เตรียมรับมือกับความต้องการที่อยู่ IP ที่เพิ่มขึ้น จึงได้สร้าง IPv6 เพื่อปรับตัวให้เข้ากับจำนวนผู้ใช้และอุปกรณ์ที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น
IPv6 ทำให้ผู้ใช้และอุปกรณ์จำนวนมากขึ้นสามารถสื่อสารกันบนอินเตอร์เน็ตได้ด้วยการใช้ตัวเลขที่มากขึ้นเพื่อสร้างที่อยู่ IP ภายใต้ IPv4 ทุกๆ ที่อยู่ IP จะยาวเท่ากับ 32 บิต ซึ่งทำให้ได้ที่อยู่ที่ไม่ซ้ำกัน 4.3 พันล้านที่อยู่ ตัวอย่างของที่อยู่ IPv4 คือ:
172.16.254.1
เมื่อเปรียบเทียบกัน ที่อยู่ IPv6 จะเท่ากับ 128 บิต ซึ่งจะทำให้ได้ที่อยู่ IP โดยประมาณถึงสามร้อยสี่สิบล้านล้านล้านล้านที่อยู่ที่ไม่ซ้ำกัน ตัวอย่างของที่อยู่ IPv6 คือ:
2001:db8:ffff:1:201:02ff:fe03:0405
IPv6 ให้ความได้เปรียบด้านเครือข่ายอื่นๆ ส่วนใหญ่แล้ว คอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชั่นจะตรวจหาและใช้ประโยชน์เครือข่ายและบริการที่เปิดใช้งาน IPv6 โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเลย IPv6 ยังช่วยบรรเทาปัญหาเครือข่ายอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากจำนวนที่จำกัดของที่อยู่ที่มีให้บน IPv4 ได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น IPv6 จะลดความจำเป็นในการแปลที่อยู่เครือข่าย ซึ่งเป็นบริการที่ทำให้ลูกข่ายหลายเครื่องแชร์ที่อยู่ IP เดียว แต่ก็เชื่อถือไม่ได้เสมอไป