Mr.Niel Gunnar Soendergaard

Mr.Niel Gunnar Soendergaard

ย้อนอดีตจากคำบอกเล่าของ ผอ.ชาวเดนมาร์ค คนแรกของ อ.ส.ค.
Mr.Niel Gunnar Soendergaard

สิบปีของความร่วมมือกันทำงานกับ ดร.ยอด วัฒนสินธุ์ ที่ฟาร์มโคนม ไทย-เดนมาร์คมวกเหล็ก สระบุรี

ในสมัยนั้นคนส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อเหมือน ๆ กันว่า การเลี้ยงโคนมในประเทศไทยยังเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าโคพื้นเมืองไทยนั้น ไม่มีวี่แววว่าจะทำให้เป็นวัวนมได้เลย อีกทั้งโคนมพันธุ์ยุโรปก็ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของเมืองไทยไม่ได้ ทั้งนี้เพราะเมืองไทยมีอากาศร้อนชื้น ทั้งโรคภัยในเขตร้อนก็มีมากมาย โดยเฉพาะโรคไพโร พลาสโมซิส (piroplasmosis) และอนาพลาสโมซิส (anaplasmosis) การทำฟาร์มโคนมและบริโภคนมสด คนไทยส่วนหนึ่งยังมีความรู้สึกต่อต้าน ไม่เห็นด้วยอยู่มากพอสมควรในปี 2502 คนไทยบริโภคนม 1.4 กิโลกรัมต่อคนต่อปี เท่านั้น (ส่วนใหญ่จะเป็นนมข้นหวานบรรจุกระป๋อง ซึ่งไม่เหมาะจะใช้เลี้ยงทารกเป็นอย่างยิ่ง)

อย่างไรก็ตามการเลี้ยงโคนมก็ยังมีอยู่บ้างในกลุ่มของชาวอินเดีย ตามชาน ๆ เมืองใหญ่ โดยเฉพาะในกรุงเทพและกลุ่มชาวมุสลิมในจังหวัดอยุธยาที่ผลิตนมสดแล้วต้มขายใน ชุมชนของตนเอง

เชื่อกันว่าชาวอินเดียที่เลี้ยงโคนมนี้ เริ่มจากมีแม่โคเริ่มต้นราว 4-5 ตัว และใช้พ่อโคฟรีเซียน (Holstein Friesian – ขาว-ดำ) ที่สั่งมาจากต่างประเทศในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผสมข้ามพันธุ์กับโคที่เลี้ยงอยู่แล้ว ซึ่งโคลูกผสมที่ชาวอินเดียเลี้ยงรีดนมอยู่ยังมีระดับสายเลือดโคอินเดีย (Bos indicus) อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะที่ปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมปัจจุบันนั้นได้

คนอินเดียที่เลี้ยงโคนมเป็นนักเลี้ยงโคนมในสายเลือดสืบทอดกันมา ไม่ได้มีการจัดตั้งฝึกอบรมให้ทำขึ้นมาจำนวนโคนมในขณะนั้น (ปี 2504) ทั้งฝั่งพระนครและธนบุรี มีอยู่ 1,093 ตัว และกระบือนมอยู่ 108 ตัว โคนมที่เลี้ยงอยู่จะถูกขังเลี้ยงดูอยู่ในโรงเรือนมืด ๆ และปิดโดยรอบอยู่ตลอดเวลา และใช้มูลโคผสมไฟเพื่อใช้ควันไฟไล่ยุง คอดโคสุดแสนจะสกปรก (incredibly dirty) ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ นานา โดยเฉพาะวัณโรคโคนมที่เลี้ยงส่วนใหญ่ใช้เลี้ยงด้วยหญ้าขน (paragrass) ตัดมาจากริมคลอง ซึ่งตามชายคลองไม่มีโค-กระบือ ที่อื่นเข้ามาเลี้ยงในแถบนี้ ดังนั้น จึงไม่มีพาหะหรือสื่อนำโรคไพโรลาสโมซิส (piroplasmosis) เข้า คิดเฉลี่ยดูแล้วโคนมของชาวอินเดียให้นมโดยประมาณ 1,400 กิโลกรัมต่อตัวต่อปี ถ้าเราให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงโคนมสมัยใหม่แก่ชาวอินเดียเขาก็จะมีราย ได้อย่างพอเพียง (ในสภาพที่ต้องเช่าที่ดินทำฟาร์มและสัญญาเช่าปีต่อปี) มันก็ทำได้ ในทำนองเดียวกันมันก็เป็นไปได้เหมือนกันถ้าเราฝึกฝนคนไทยของเราให้เป็น เกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนมเป็นอาชีพใหม่ โดยให้คำแนะนำฝึกอบรมที่ถูกต้องแก่เขา

ด้วยพื้นฐานความรู้ที่กล่าวมานี้ ในปี พ.ศ.2502 เมื่อข้าพเจ้ากลับไปประเทศเดนมาร์ค ข้าพเจ้าจึงได้เขียนข้อเสนอเกี่ยวกับโครงการการพัฒนาและการจัดตั้งศูนย์ฝึก อบ รมการเลี้ยง โคนมสำหรับประเทศไทยขึ้นมา ข้อเสนอนี้ได้เสนอให้สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เดนมาร์คเป็นผู้พิจารณาก่อน โดยเชื่อมั่นว่าสภาหอการค้าน่าจะเป็นแห่งที่เหมาะสมที่สุดที่จะอุปถัมภ์ใน เรื่องการเงินได้เป็นอย่างดีและขณะนั้นเดนมาร์คเองก็ยังไม่มีหน่วยงานที่ให้ ความช่วยเหลือต่างประเทศในด้านการเกษตรเลย

โครงการนี้ยังถูกเสนอให้เจ้าหน้าที่ทางวิชาการของกรมปศุสัตว์ซึ่งศึกษาดูงานในประเทศเดนมาร์คในขณะนั้น กับ ดร.ยอด
วัฒน สินธุ์ และ ดร.ยอด วัฒนสินธุ์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานเกี่ยวกับโครงการนี้กับเจ้าหน้าที่ทาง วิชาการฝ่ายไทยที่สำนักงานใหญ่ เอฟเอโอ (FAO) ประจำประเทศไทย คุณสุรเทิน บุญนาค เป็นผู้นำแนวคิดนี้ไปเสนอต่อ ฯพณฯ เอบ เบ้อ มุ้นซ์ (Ebbe Munch) เอกอัครราชทูตเดนมาร์คประจำประเทศไทย หลังจากการหารืออย่างเป็นทางการร่วมกับกรมปศุสัตว์แล้วได้มีการเขียนแผนงาน เกี่ยวกับการเลี้ยงโคนมขึ้นมา ส่วน ฯพณฯ เอกอัครราชทูตก็ได้นำข้อเสนอแผนงานนี้เสนอต่อกระทรวงเกษตรแห่งประเทศ เดนมาร์ค โดยแผนเสนอนี้เป็นแผนการจัดตั้งดำเนินงานการเลี้ยงโคนมสมัยใหม่ขึ้นในประเทศ ไทย ซึ่งรวมทั้งงบประมาณในการดำเนินงานและรายละเอียดเกี่ยวกับความช่วยเหลือทาง วิชาการ (สิงหาคม 2503)

กระทรวงต่างประเทศของเดนมาร์คได้นำโครงการนี้มาหารือองค์กรการเกษตรของ เดนมาร์คด้วยเช่นกัน ซึ่งคาดว่าจะได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้รับผิดชอบในเรื่องนี้ ด้วยเหตุนี้ถ้าจำไม่ผิดคงเป็นวันที่ 2 มกราคม 2504 ทางประเทศเดนมาร์คได้ส่งคณะที่ปรึกษาการเกษตร 3 คน เข้ามาในประเทศไทย ได้แก่ นายวิกโก้ แอนเดอร์เซ่น (Mr.Viggo Andersen) นายอีหริค อีริคเซ่น (Mr.Erik Eriksen) สมาชิกรัฐสภา และข้าพเจ้า นายเอนจี เอช ซอน เดอร์การ์ด (N.G.F Sondergaard) มาศึกษาแนวโน้มความเป็นไปได้ที่จะสร้างฟาร์มเลี้ยงโคนมและศูนย์การฝึกอบรมโค นม เสร็จแล้วกลับไป

จนถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2504 คณะสามท่านดังกล่าวได้เดินทางกลับมาเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง จึงได้มีการลงนามในสัญญาความช่วยเหลือทางวิชาการครั้งแรกของเดนมาร์คแก่ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2504 โดยเป็นการลงนามระหว่างรัฐบาลเดนมาร์คกับรัฐบาลไทยในเรื่องเกี่ยวกับการ พัฒนาการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย

รัฐบาลเดนมาร์คโดยความร่วมมือขององค์การช่วยเหลือการเกษตรของเดนมาร์ค ตกลงจะให้ความช่วยเหลือเป็นมูลค่า 4.33 ล้านโครนเน่อร์ เพื่อใช้ดำเนินการเป็นระยะเวลา 8 ปี งบประมาณนี้รวมค่าใช้จ่ายของคณะเจ้าหน้าที่เดนมาร์คและไทย และทุนการศึกษาดูงานในเดนมาร์คอีก 10 ทุน รายได้อันพึงมีจากการดำเนินการฟาร์มโคนมได้ขอนำไปใช้ในค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ต่าง ๆ ในการดำเนินฟาร์ม ตามข้อตกลงนี้ ประเทศไทยต้องเป็นผู้เปิดป่าเนื้อที่ 30 เฮกเตอร์ (2,300 ไร่ – ผู้แปล) ที่อำเภอมวกเหล็ก สร้างถนนภายในฟาร์ม โยกย้าย รื้อถอนอาคารเดิมที่ไม่ต้องการ (ของสถานีพืชอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ – ผู้แปล) ออก อีกทั้งขอให้ทางฝ่ายไทยช่วยจัดหาพื้นที่ที่จะทำเป็นนิคมของผู้เลี้ยงโคนมให้ ด้วย

 

ท่านสามารถดาวน์โหลด 50 ปี อ.ส.ค.